ที่อุดหู หรืออุปกรณ์ป้องกันเสียง ทำมาจากวัสดุอะไรบ้าง รวมถึงข้อควรระวังในการใช้งานแต่ละประเภท

เสียงดังแค่ไหน ก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดความเสี่ยงต่อหู วิธีการป้องกันเสียงดังอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

เพราะเสียงที่เราได้ยิน ไม่ได้มีแค่เพียงเสียงที่เป็นมิตรต่อหูและระบบการได้ยินเท่านั้น หลายๆ ครั้งที่มีความจำเป็นต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสเกิดมลพิษทางเสียง หรือต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเป็นระยะเวลานานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ การหา “อุปกรณ์ป้องกันเสียง” เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง โดยในปัจจุบัน อุปกรณ์ป้องกันเสียงได้ถูกออกแบบมาหลายชนิดเพื่อตอบสนองต่อประเภทการใช้งานและรูปแบบของการทำงานที่ต้องการ

วิธีป้องกันเสียงดัง

โดยทั่วไปแล้ว การป้องกันเสียงดังสามารถทำได้ 3 รูปแบบหลักๆ คือ

  • การป้องกันที่แหล่งกำเนิดเสียง: โดยเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงหรือเปลี่ยนระบบการทำงานให้ส่งเสียงดังน้อยลง รวมถึงสร้างโครงสร้างที่สามารถป้องกันเสียงได้ไปครอบไว้
  • การป้องกันที่ทางเดินของเสียง: เพื่อกีดขวางการเดินทางของเสียงมายังผู้รับเสียง รวมไปถึงทำให้ระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงและผู้รับเสียงเพิ่มมากขึ้น ระดับความดังของเสียงก็จะลดลง เช่น การติดตั้งกำแพงกั้นเสียง
  • การป้องกันที่ผู้รับเสียง: ซึ่งวิธีนี้จะเป็นตัวกรองชั้นสุดท้าย ที่ป้องกันไปยังหูและการได้ยินโดยตรง จากการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถทำได้ทันที เพื่อป้องกันหูและระบบการได้ยินจากเสียงดังหรือมลพิษทางเสียง

อุปกรณ์ป้องกันเสียง

อุปกรณ์ป้องกันเสียงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

1. ชนิดสอดเข้าไปในรูหู (Ear Plugs)

สำหรับชนิดสอดเข้าไปในรูหู สามารถช่วยลดเสียงได้ที่ 15-29 dBA จะมีหลายรูปแบบและทำจากวัสดุหลายชนิดที่แตกต่างกันไปดังนี้

  • วัสดุโฟม: เป็นวัสดุที่ผลิตจากโฟมโพลียูรีเธน (Polyurethane Foam) ชนิดอ่อนนุ่มเป็นพิเศษ จะให้ความรู้สึกนุ่ม แนบกระชับ ใส่สบาย มีรูปทรงเป็นทรงกระบอก เมื่อบีบแล้วใส่ในช่องหู โฟมจะขยายตัวออกเพื่อให้พอดีกับช่องหู ลดเสียงได้ 24-29 dBA
    ข้อควรระวังในการใช้งาน คือ เนื่องจากก่อนใส่ต้องใช้มือบีบที่โฟม ทำให้อาจจะมีสิ่งสกปรกจากมือเปื้อนไปที่ Ear Plugs ทำให้เสี่ยงต่อความสกปรกและเชื้อโรคในรูหูได้
  • วัสดุซิลิโคน: เป็นซิลิโคนชนิดนิ่มเป็นพิเศษ ทำให้ใส่สบาย และถูกออกแบบมาเป็นรูปร่างเรียวคล้ายร่ม 3 ชั้น สามารถทำความสะอาดและใช้ซ้ำได้ มีความสามารถในการลดเสียงได้ที่ 24-26 dBA
    ข้อควรระวังในการใช้งาน คือ ลักษณะการออกแบบจะเหมือนร่ม 3 ชั้น ซึ่งอาจจะไม่พอดีกับลักษณะของรูหูแต่ละคน และเนื่องจากมีการใช้ซ้ำได้ จึงควรทำความสะอาดให้ดีก่อนใช้ซ้ำ

2. ชนิดที่ครอบหู (Earmuffs)

เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่ถูกออกแบบมาโดยใช้ปิดครอบหูส่วนนอก หรือใบหูทั้งหมด ทำให้ประสิทธิภาพของการลดเสียงจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ขนาด และรูปร่าง ซึ่ง Earmuffs จะสามารถลดเสียงได้ตั้งแต่ 30-40 dBA โดยส่วนมาก Earmuffs จะทำมาจากวัสดุพลาสติกชนิด ABS สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะดังนี้คือ

  • แบบคาดศีรษะ: ที่ทำมาจาก ABS พร้อมสายคาดสแตนเลส น้ำหนักเบา สวมใส่ง่ายและสามารถปรับระดับคาดศีรษะเพื่อความพอดีของตัวครอบหูได้
  • แบบประกอบหมวก: รูปแบบนี้จะเหมาะสำหรับใช้งานร่วมกับหมวกนิรภัย โดยอุปกรณ์ครอบหูจะประกอบกับขาสปริงเพื่อนำไปปรับตำแหน่งกับหมวกได้

โดยหากมีความต้องการใช้งาน Earmuffs ในพื้นที่ที่มีความดังเสียงสูงเกิน 100 dBA ก็ยังสามารถใช้ที่ครอบหูแบบฝาครอบ 2 ชั้นได้อีกด้วย
ข้อควรระวังการใช้งาน คือ เนื่องจาก Earmuffs จะมีวัสดุที่เป็นนวมในส่วนครอบหู แต่วัสดุของนวมจะแตกต่างกันออกไปเช่น นวมที่ภายในบุด้วยของเหลว ที่ช่วยลดเสียงได้ดีกว่านวมพลาสติก หรือโฟม แต่ก็จะพบปัญหาของเหลวรั่วไหลได้ง่าย

วิธีเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่เหมาะสม

การจะเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียงให้เหมาะสม ควรพิจารณาจากระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัส ควบคู่ไปกับระดับเสียงที่ต้องการลด เพราะอุปกรณ์ป้องกันเสียง จะระบุค่าระดับความดังที่ใช้งาน และความดังที่ลดได้ไว้เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่สวมใส่ ควรเลือกให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ และไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจกรรมอีกด้วย

Facebook
Twitter
Email
การได้ยิน เป็นหนึ่งในการรับรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 แต่รู้หรือไม่ว่า ไม่ใช่เสียงทุกชนิดที่ได้ยิน จะเป็นมิตรกับระบบประสาทหู เนื่องจากเสียงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงบางชนิด และมีระดับความดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
อ่าน: 168 ครั้ง
ที่อุดหู หรือ Earplugs ในท้องตลาดมีให้เราเลือกเยอะมาก ก่อนที่จะทำการเลือกซื้อที่อุดหู เราต้องมารู้จักที่อุดหูแต่ละประเภทก่อน เพื่อที่จะได้เลือกที่อุดหูแบบที่ใส่แล้วสบายตอบโจทย์การใช้งาน
อ่าน: 95 ครั้ง
การดูแลรักษาความสะอาดของที่อุดหูอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยคงประสิทธิภาพของที่อุดหูให้มีอายุการใช้งานที่ยาวขึ้น ไม่ต้องเปลี่ยนที่อุดหูใหม่บ่อย ๆ แต่ถ้าที่อุดหูเสื่อมสภาพก็ต้องเปลี่ยนใหม่ทันที ไม่ควรฝืนใช้งานต่อ
อ่าน: 114 ครั้ง

ที่อุดหู Pocket รุ่น Classic Soft ขนาดมาตรฐานใส่สบาย คืนตัวช้า มีความนุ่มสูงสุด ใช้งานง่าย ลดเสียงได้ดีมาก ที่อุดหูนอนหลับ

  • ป้องกันเสียงรบกวนได้ 38 dB (SNR)
  • ขนาด 24.5 x 13 มิลลิเมตร
  • รูปทรงมาตรฐานใช้งานง่ายสบาย
ราคา
Pocket LINE QR Code
(มี @ นำหน้าด้วยนะคะ)