เสียงดังแค่ไหน ก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดความเสี่ยงต่อหู วิธีการป้องกันเสียงดังอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

เสียงดังแค่ไหน ก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดความเสี่ยงต่อหู วิธีการป้องกันเสียงดังอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

การได้ยิน เป็นหนึ่งในการรับรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 แต่รู้หรือไม่ว่า ไม่ใช่เสียงทุกชนิดที่ได้ยิน จะเป็นมิตรกับระบบประสาทหู เนื่องจากเสียงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงบางชนิด และมีระดับความดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด สามารถถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ของมลพิษทางเสียง ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและอันตรายต่อหูได้เช่นเดียวกัน

เสียงคืออะไร แบบไหนเรียกเสียงดัง

เสียง (Sound) จัดเป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน จะส่งผลให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางไม่ว่าจะเป็น ของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางผ่านอากาศ ไปยังส่วนรับเสียงนั่นก็คือหู ซึ่งหูและระบบประสาทรับเสียงจะมีหน้าที่รับเสียงเพื่อแปลเป็นสัญญาณส่งไปยังสมองเพื่อการรับรู้ต่อไป แต่ในขณะเดียวกัน เสียงที่ไม่พึงปรารถนาจำพวกเสียงที่ดังเกินไป หรือรบกวนการได้ยิน อาจจะทำให้โซนประสาทอ่อนล้า ก่อให้เกิดความเสี่ยงและอันตรายต่อหูได้ เสียงจำพวกนี้ จะถูกเรียกว่า “เสียงดัง” หรือ “Noise” นั่นเอง

เสียงดังแค่ไหน ก่อให้เกิดความเสี่ยงและอันตรายต่อหู

ความดังของเสียง จะถูกระบุอยู่ในหน่วย “เดซิเบล เอ (dBA)” ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว กรมควบคุมมลพิษได้กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไปเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน 70 dBA และมีค่าสูงสุดไม่เกิน 115 dBA
นอกจากนี้องค์กรอนามัยโลกกำหนดว่า เสียงที่เป็นอันตราย หมายถึงเสียงที่ดังเกิน 85 dBA โดยหากได้รับเสียงในระดับเสียงดังเกิน 70-75 dBA เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ความรู้สึกต่อการได้ยินจะลดความไวลง นอกจากนี้ หากมีความจำเป็นต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเป็นระยะเวลานาน กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย ยังได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการไว้ดังนี้

  • ได้รับเสียงไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 91 dBA
  • ได้รับเสียงวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 90 dBA
  • ได้รับเสียงเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 80 dBA
  • นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีระดับเสียงเกิน 140 dBA ไม่ได้

เสียงดังอันตรายอย่างไร

เมื่อรับเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานานเกินระดับมาตรฐาน จะสามารถทำให้เกิดอันตรายจากเสียงดังได้ดังนี้

1. อันตรายต่อหูและการได้ยิน

เนื่องจากหูที่เป็นระบบประสาทรับเสียง ประกอบไปด้วยอวัยวะภายในต่างๆ มากมายร่วมถึงเส้นขนและเซลล์ประสาท ซึ่งเสียงที่ดังเกินไปจะทำให้ระบบประสาทเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ยินเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถส่งผลให้เกิดโรคประสาทหูเสื่อม ไปจนถึงการสูญเสียการได้ยินทั้งชั่วคราวและถาวรได้เลย

2. ส่งผลต่อการนอน

เนื่องจากเสียงดัง จะกระตุ้นให้สมองตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถผ่อนคลายได้และอาจจะนอนไม่หลับ ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ

3. สามารถทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้

เนื่องจากเสียงดัง จะทำให้เกิดอาการตกใจ ความดันโลหิตสูง หรือหัวใจเต้นผิดปกติและนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

4. มีอันตรายต่อทารกในครรภ์

ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผู้ได้ยิน แต่สามารถส่งผลกระทับไปยังทารกในครรภ์ได้ด้วยเช่นกันถึงแม้ว่ามารดาจะสวมใส่เครื่องป้องกันเสียงแล้วก็ตาม

5. ส่งผลกระทบต่อสมาธิ และอารมณ์ความรู้สึก

เพราะเสียงที่ดังเกินไป สามารถส่งผลต่อระบบประสาทและสมองได้ จึงสามารถทำให้เกิดผลกระทบสำหรับกรณีที่ต้องการสมาธิ และเสียงที่ดังเกินไป ยังก่อให้เกิดความเครียดได้อีกด้วย

วิธีป้องกันเสียงดังให้มีประสิทธิภาพ

สำหรับวิธีป้องกันเสียงดังให้มีประสิทธิภาพ สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดังเกินกว่ามาตรฐาน
2. หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันเสียง จะถูกแบ่งออกไปตามประเภท และความเหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น

  • ปลั๊กอุดหู ทำจากพลาสติกหรือซิลิโคน สามารถลดระดับความดังของเสียงได้ 10-20 dBA
  • ที่ครอบหู จะปิดหูและกระดูกรอบๆ ใบหูไว้ได้ทั้งหมด สามารถทดระดับความดังของเสียงได้ 20-40 dBA

3. สำหรับสถานที่ปฏิบัติงาน ที่มีการใช้งานเครื่องจักที่ส่งเสียงดัง ควรมีการซ่อมบำรุง และตรวจสอบเครื่องจักรเป็นประจำ รวมถึงการมีโครงสร้างสำหรับป้องกันเสียง และมีการสนับสนุนให้พนักงานได้รับการตรวจสอบสมรรถภาพการได้ยินเป็นประจำทุกปี

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ไม่ใช่เสียงทุกชนิดจัดเป็นเสียงที่เหมาะสม เพราะมลพิษทางเสียงสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ใกล้ไม่ไกลตัวเรา หากมีความจำเป็นต้องอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางเสียง อย่าลืมหาทางหลีกเที่ยงหรือป้องกันให้ดีที่สุด

Facebook
Twitter
Email
การดูแลรักษาความสะอาดของที่อุดหูอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยคงประสิทธิภาพของที่อุดหูให้มีอายุการใช้งานที่ยาวขึ้น ไม่ต้องเปลี่ยนที่อุดหูใหม่บ่อย ๆ แต่ถ้าที่อุดหูเสื่อมสภาพก็ต้องเปลี่ยนใหม่ทันที ไม่ควรฝืนใช้งานต่อ
อ่าน: 114 ครั้ง
หลายคนอาจเคยรำคาญใจ เมื่อพักอาศัยในห้องพักหรือคอนโดกลับต้องพบเจอกับเสียงรบกวนที่มาจากข้างห้องหรือที่มาจากภายนอกอยู่เป็นประจำ ซึ่งแน่นอนว่าเสียงจากห้องของเราเองก็อาจเล็ดลอดออกไปข้างนอกด้วยเช่นกัน
อ่าน: 198 ครั้ง
ที่อุดหู หรือ Earplugs ในท้องตลาดมีให้เราเลือกเยอะมาก ก่อนที่จะทำการเลือกซื้อที่อุดหู เราต้องมารู้จักที่อุดหูแต่ละประเภทก่อน เพื่อที่จะได้เลือกที่อุดหูแบบที่ใส่แล้วสบายตอบโจทย์การใช้งาน
อ่าน: 95 ครั้ง

ที่อุดหู Pocket รุ่น Classic Soft ขนาดมาตรฐานใส่สบาย คืนตัวช้า มีความนุ่มสูงสุด ใช้งานง่าย ลดเสียงได้ดีมาก ที่อุดหูนอนหลับ

  • ป้องกันเสียงรบกวนได้ 38 dB (SNR)
  • ขนาด 24.5 x 13 มิลลิเมตร
  • รูปทรงมาตรฐานใช้งานง่ายสบาย
ราคา
Pocket LINE QR Code
(มี @ นำหน้าด้วยนะคะ)